วันศุกร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2556

E-Portfolio

E-Portfolio (แฟ้มสะสมผลงานอิเล็กทรอนิกส์)
          เป็นระบบที่ช่วยในการสร้างและเผยแพร่แฟ้มสะสมงาน (Portfolio) ในระบบ Online ผ่านทาง Internet สำหรับบุคคลและองค์กรต่างๆที่ต้องการสะสมผลงานเป็นการนำเสนอเอกลักษณ์ ปรัชญา เป้าหมาย ทักษะ ความสามารถ ผลงานของเจ้าของผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ข้อมูลและเนื้อหาสาระมาจากแฟ้มผลงาน (hard copy portfolio) เพื่อเก็บไว้เป็นข้อมูลสำหรับการนำเสนอตรวจสอบการเรียนรู้หรือการทำงานว่าประสบความสำเร็จในระดับใด โดยใช้เทคนิคการนำเสนอแบบ web

ลักษณะแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)
แฟ้มสะสมงาน (Portfolio) สามารถแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ
          1. เครื่องมือสาหรับการเรียนรู้ โดยใช้บันทึกสิ่งที่เรียนรู้ การแสดงความคิดเห็นที่เกิดจากการทางาน การค้นคว้าข้อมูล
          2. เครื่องมือที่สาหรับแสดงสมรรถนะ แสดงความเชี่ยวชาญ ความรู้ ทัศนะและทัศนคติของเจ้าของแฟ้มในงานของตน
          3. เครื่องมือสาหรับการประเมิน ทั้งการประเมินความก้าวหน้า (formative evaluation) ประเมินกระบวนการทางาน และ การประเมินผลลัพธ์ (summative evaluation) ประเมินผลงานที่เป็นผลจากการดาเนินงาน การประเมินจะต้องแสดงให้เห็นทั้งจุดอ่อนและจุดแข็ง สาหรับวางแผนการพัฒนาสมรรถนะในอนาคต

 
องค์ประกอบของแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ 
         การสร้างแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ควรคํานึงเนื้อหาที่ชัดเจนและครบถ้วน เพื่อระบุถึงสิ่งที่ต้องการนำเสนอให้ตรงประเด็น  ประกอบด้วย 6 ส่วน ดังนี้
          1. จุดมุ่งหมายของแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์
          2. เนื้อหาของแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์
          3. การพัฒนาแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ 
          4. การประเมินตนเอง 
          5. ระบบการจัดการอิเล็กทรอนิกส์  
          6. การประเมินผลแฟ้มสะสมงานเล็กทรอนิกส์
ตัวอย่าง การสร้าง e-Portfolio ด้วย Mahara


ข้อดีของ e-Portfolio
          1.  ลดการใช้ทรัพยากรสานักงาน เช่น กระดาษ หมึกพิมพ์ เป็นต้น
          2. สะดวกต่อการบริหารจัดการ สามารถส่งข้อมูลที่เป็นทั้ง ภาพ เสียงและภาพเคลื่อนไหว สาหรับกิจกรรมและภาระงานต่างๆ ที่ได้รับมอบหมาย ได้ทุกที่ ทุกเวลา
          3. สะดวกสาหรับผู้บริหารในการพิจารณาผลการประเมินสมรรถนะของบุคลากรในสายบังคับบัญชา
          4. นำเสนอผลงานซึงสามารถจัดแสดงผลงานได้อย่างตรงจุดในสิ่งต้องการ นำเสนอ เช่น  ข้อมูล ประวัติ หรือเนื้อหาต่างๆ ทีจะชี้ให้เห็นศักยภาพของเจ้าของแฟ้ม สะสมงาน
          5. เข้าถึงผลงานโดยสะดวกเนืองจากเป็นการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการ จัดระบบผลงานทำให้ประหยัดเนื้อที่ที่เก็บผลงาน ประหยัดเวลาในการสืบค้น และ นำเสนอได้อย่างสะดวก สามารถเข้าถึงกันได้ทั่ว  โลกผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์
          6. เก็บสะสมผลงานได้หลายรูปแบบ ทั้งรูปภาพ เสียง วิดีโอ ข้อความ สื่อ มัลติมีเดียต่างๆ
          7. แก้ไขและปรับปรุงแฟ้มสะสมผลงานได้อย่างสะดวก สามารถปรับปรุงได้ ทันที ซึ่งขึ้นอยู่กับความสามารถของเจ้าของแฟ้มสะสมผลงานในการพัฒนาแฟ้มของตน
          8. เชื่อมโยงข้อมูลผลงานโดยสามารถอ้างอิงผลงานร่วมกันได้ เมือต้องการ สำเนาผลงานไปยังหัวข้ออื่นๆ แฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์สามารถเชื่อมโยงเพื่อนำไปอ้างอิงได้สะดวก ด้วยการใช้ไฮเปอร์ลิงค์หรือเครื่องมือต่างๆ
ข้อจำกัดของ e-Portfolio
          1. การแก้ไข e-Portfolio ในทุกครั้งต้องทำการแก้ไขบนเว็บไซต์ที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
          2. ผู้ชมที่ไม่มีความรู้เรื่องอินเตอร์เน็ตและคอมพิวเตอร์ ไม่สามารถเข้าชม e-Portfolio ได้
          3. ผู้เรียนและผู้สอน มีความรู้ในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต
          4. ผู้เรียนบางคน ไม่สามารถทำ e-Portfolio ด้วยตนเองได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น