สรุป Blogger E-Book และ Cloud computing
http://lepain08.blogspot.com/2013/08/conclusion-e-book-and-cloud-computing_23.html
วันอังคารที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556
วันศุกร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2556
E-Portfolio
E-Portfolio (แฟ้มสะสมผลงานอิเล็กทรอนิกส์)
เป็นระบบที่ช่วยในการสร้างและเผยแพร่แฟ้มสะสมงาน
(Portfolio)
ในระบบ Online ผ่านทาง Internet สำหรับบุคคลและองค์กรต่างๆที่ต้องการสะสมผลงานเป็นการนำเสนอเอกลักษณ์
ปรัชญา เป้าหมาย ทักษะ ความสามารถ ผลงานของเจ้าของผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
ข้อมูลและเนื้อหาสาระมาจากแฟ้มผลงาน (hard copy portfolio) เพื่อเก็บไว้เป็นข้อมูลสำหรับการนำเสนอตรวจสอบการเรียนรู้หรือการทำงานว่าประสบความสำเร็จในระดับใด
โดยใช้เทคนิคการนำเสนอแบบ web
ลักษณะแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)
แฟ้มสะสมงาน
(Portfolio)
สามารถแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ
1. เครื่องมือสาหรับการเรียนรู้
โดยใช้บันทึกสิ่งที่เรียนรู้ การแสดงความคิดเห็นที่เกิดจากการทางาน
การค้นคว้าข้อมูล
2. เครื่องมือที่สาหรับแสดงสมรรถนะ
แสดงความเชี่ยวชาญ ความรู้ ทัศนะและทัศนคติของเจ้าของแฟ้มในงานของตน
3. เครื่องมือสาหรับการประเมิน
ทั้งการประเมินความก้าวหน้า (formative evaluation) ประเมินกระบวนการทางาน และ การประเมินผลลัพธ์ (summative
evaluation) ประเมินผลงานที่เป็นผลจากการดาเนินงาน
การประเมินจะต้องแสดงให้เห็นทั้งจุดอ่อนและจุดแข็ง
สาหรับวางแผนการพัฒนาสมรรถนะในอนาคต
องค์ประกอบของแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์
การสร้างแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ควรคํานึงเนื้อหาที่ชัดเจนและครบถ้วน
เพื่อระบุถึงสิ่งที่ต้องการนำเสนอให้ตรงประเด็น
ประกอบด้วย 6 ส่วน ดังนี้
1.
จุดมุ่งหมายของแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์
2.
เนื้อหาของแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์
3.
การพัฒนาแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์
4.
การประเมินตนเอง
5.
ระบบการจัดการอิเล็กทรอนิกส์
6.
การประเมินผลแฟ้มสะสมงานเล็กทรอนิกส์
ตัวอย่าง การสร้าง e-Portfolio
ด้วย Mahara
ข้อดีของ e-Portfolio
1. ลดการใช้ทรัพยากรสานักงาน เช่น
กระดาษ หมึกพิมพ์ เป็นต้น
2. สะดวกต่อการบริหารจัดการ
สามารถส่งข้อมูลที่เป็นทั้ง ภาพ เสียงและภาพเคลื่อนไหว
สาหรับกิจกรรมและภาระงานต่างๆ ที่ได้รับมอบหมาย ได้ทุกที่ ทุกเวลา
3.
สะดวกสาหรับผู้บริหารในการพิจารณาผลการประเมินสมรรถนะของบุคลากรในสายบังคับบัญชา
4.
นำเสนอผลงานซึงสามารถจัดแสดงผลงานได้อย่างตรงจุดในสิ่งต้องการ นำเสนอ เช่น ข้อมูล ประวัติ หรือเนื้อหาต่างๆ
ทีจะชี้ให้เห็นศักยภาพของเจ้าของแฟ้ม สะสมงาน
5. เข้าถึงผลงานโดยสะดวกเนืองจากเป็นการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการ
จัดระบบผลงานทำให้ประหยัดเนื้อที่ที่เก็บผลงาน ประหยัดเวลาในการสืบค้น และ
นำเสนอได้อย่างสะดวก สามารถเข้าถึงกันได้ทั่ว
โลกผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์
6. เก็บสะสมผลงานได้หลายรูปแบบ
ทั้งรูปภาพ เสียง วิดีโอ ข้อความ สื่อ มัลติมีเดียต่างๆ
7.
แก้ไขและปรับปรุงแฟ้มสะสมผลงานได้อย่างสะดวก สามารถปรับปรุงได้ ทันที
ซึ่งขึ้นอยู่กับความสามารถของเจ้าของแฟ้มสะสมผลงานในการพัฒนาแฟ้มของตน
8.
เชื่อมโยงข้อมูลผลงานโดยสามารถอ้างอิงผลงานร่วมกันได้ เมือต้องการ
สำเนาผลงานไปยังหัวข้ออื่นๆ
แฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์สามารถเชื่อมโยงเพื่อนำไปอ้างอิงได้สะดวก
ด้วยการใช้ไฮเปอร์ลิงค์หรือเครื่องมือต่างๆ
ข้อจำกัดของ e-Portfolio
1. การแก้ไข e-Portfolio ในทุกครั้งต้องทำการแก้ไขบนเว็บไซต์ที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
2. ผู้ชมที่ไม่มีความรู้เรื่องอินเตอร์เน็ตและคอมพิวเตอร์
ไม่สามารถเข้าชม e-Portfolio ได้
3. ผู้เรียนและผู้สอน
มีความรู้ในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต
4. ผู้เรียนบางคน ไม่สามารถทำ e-Portfolio
ด้วยตนเองได้
CMS, LMS
CMS ย่อมาจาก
Content Management System เป็นระบบที่นำมาช่วยในการสร้างและบริหารเว็บไซต์แบบสำเร็จรูป
โดยในการใช้งาน CMS นั้นผู้ใช้งานแทบไม่ต้องมีความรู้ในด้านการเขียนโปรแกรม
ก็สามารถสร้างเว็บไซต์ได้ ตัวของ CMS เองจะมีโปรแกรมแถมมาและสามารถแทรกเองได้มากมายเช่น
webboard , ระบบจัดการป้ายโฆษณา , ระบบนับจำนวนผู้ชม
แม้แต่กระทั่งตระกร้าสินค้า และอื่นๆอีกมากมาย
CMS เป็นเหมือนโปรแกรม โปรแกรมหนึ่ง ที่มีผู้พัฒนามาจากภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในเว็บไซต์เช่น PHP , Python , ASP , JSP ซึ่งในปัจจุบันมีคนใจดีพัฒนา CMS ฟรีขึ้นมามากมายอย่างเช่น Mambo , Joomla , Wordpress
CMS เป็นเหมือนโปรแกรม โปรแกรมหนึ่ง ที่มีผู้พัฒนามาจากภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในเว็บไซต์เช่น PHP , Python , ASP , JSP ซึ่งในปัจจุบันมีคนใจดีพัฒนา CMS ฟรีขึ้นมามากมายอย่างเช่น Mambo , Joomla , Wordpress
แน่นอนว่าผู้พัฒนาระบบ CMS ฟรี ที่กล่าวมาข้างต้นนั้นล้วนเป็นมืออาชีพที่มีฝีมือในเรื่องของ เว็บไซต์เป็นอย่างยิ่ง ทั้งการเขียนโปรแกรมที่รัดกุม การออกแบบเนวิเกชั่นที่ดี ทำให้ภาพรวมของเว็บไซต์ที่ใช้ CMS นั้นออกมาในแนวมืออาชีพอย่างมาก
ลักษณะการทำงานของ
Content
Management System (CMS)

ข้อดีของ CMS

2.ไม่เสียเวลาในการพัฒนาเว็บไซต์
ไม่เสียเงินจำนวนมาก
3.ง่ายต่อการดูแล
เพราะมีระบบจัดการทุกอย่างให้เราหมด
4.มีระบบจัดการที่เราสามารถหามาใส่เพิ่มได้มากมาย
อย่างเช่น ระบบแกลลอรี่
5.สามารถเปลี่ยนหน้าตาเว็บไซต์ได้ง่ายๆ
เพียงแค่โหลดทีม (Theme) ของ CMS นั้นๆ
ข้อเสียของ CMS
1.ในกรณีที่ผู้ใช้ต้องการออกแบบทีม
(หน้าตาของเว็บ) เอง จะต้องใช้ความรู้มากกว่าปรกติ เนื้องจาก CMS มีหลายๆระบบมารวมกันทำให้เกิดความยุ่งยาก สำหรับผู้ที่ไม่มีความรู้
2.ผู้ใช้จะต้องศึกษาระบบ
CMS ที่ผู้พัฒนาสร้างขึ้นมา เช่นจะต้องใส่ข้อความลงตรงไหน
จะต้องแทรกภาพอย่างไร ซึ่งจะลำบากเพียงแค่ช่วงแรกเท่านั้น
3.ในการใช้งานจริงนั้นจะมีความยุ่งยากในการ
set up ครั้งแรกกับ web server แต่ปัจจุบันก็มีผู้บริการ
web server มากมายที่เสนอลงและ set up ระบบ
CMS ให้ฟรีๆโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
เมื่อรวมๆข้อดีและข้อเสียดูแล้ว ก็ยังเห็นได้ว่า CMS นั้นก็เป็นระบบที่น่าใช้งานอยู่ดี
แนะนำ CMS
- Mambo CMS ตัวนี้มีผู้ใช้งานมากมายทั้งในหน่วยงานของรัฐ
และผู้คนทั่วไป ทำให้มีคนให้เราสามารถปรึกษาได้มาก
รวมถึงตัวระบบเองก็ใช้งานได้ง่าย และมีผู้พัฒนาอยู่ตลอดเวลา
มีเว็บไซต์ภาษาไทยรองรับสำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาและใช้งาน เช่น http://www.mambohub.com
LMS
LMS เป็นคำที่ย่อมาจาก Learning
Management Systemหรือระบบการจัดการเรียนรู้
เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่บริหารจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ
จะประกอบด้วยเครื่องมืออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้สอน ผู้เรียน ผู้ดูแลระบบ
โดยที่ผู้สอนนำเนื้อหาและสื่อการสอนขึ้นเว็บไซต์รายวิชาตามที่ได้ขอให้ระบบ
จัดไว้ให้ได้โดยสะดวก ผู้เรียนเข้าถึงเนื้อหา กิจกรรมต่าง ๆ ได้โดยผ่านเว็บ
ผู้สอนและผู้เรียนติดต่อ สื่อสารได้ผ่านทางเครื่องมือการสื่อสารที่ระบบจัดไว้ให้
เช่น ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ห้องสนทนา กระดานถาม - ตอบ เป็นต้น
นอกจากนั้นแล้วยังมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ การเก็บบันทึกข้อมูล
กิจกรรมการเรียนของผู้เรียนไว้บนระบบเพื่อผู้สอนสามารถนำไปวิเคราะห์
ติดตามและประเมินผลการเรียนการสอนในรายวิชานั้นอย่างมีประสิทธิภาพ
1. กำหนดผู้ใช้งาน
2. ระบบการสื่อสาร
3. แหล่งอ้างอิง
4. การตรวจและให้คะแนน
5. การติดตามพฤติกรรมการเรียน
6. การรายงานผล
7. ระบบการสอน
8. ความสามารถในการนำเสนอ Rich
Media
องค์ประกอบ LMS
องค์ประกอบ LMS
LMS ประกอบด้วย 5 ส่วนดังนี้
1.
ระบบจัดการหลักสูตร (Course Management) กลุ่มผู้ใช้งานแบ่งเป็น
3 ระดับคือ ผู้เรียน ผู้สอน และผู้บริหารระบบ
โดยสามารถเข้าสู่ระบบจากที่ไหน เวลาใดก็ได้ โดยผ่าน เครือข่ายอินเตอร์เน็ต
ระบบสามารถรองรับจำนวน user และ จำนวนบทเรียนได้ ไม่จำกัด
โดยขึ้นอยู่กับ hardware/software ที่ใช้
และระบบสามารถรองรับการใช้งานภาษาไทยอย่างเต็ม รูปแบบ
2.
ระบบการสร้างบทเรียน (Content Management) ระบบประกอบด้วยเครื่องมือในการช่วยสร้าง
Content ระบบสามารถใช้งานได้ดีทั้งกับบทเรียนในรูป Text
- based และบทเรียนใน รูปแบบ Streaming Media
3.
ระบบการทดสอบและประเมินผล (Test and Evaluation System) มีระบบคลังข้อสอบ
โดยเป็นระบบการสุ่มข้อสอบสามารถจับเวลาการทำข้อสอบและการตรวจข้อสอบอัตโนมัติ
พร้อมเฉลย รายงานสถิติ คะแนน และสถิติการเข้าเรียนของนักเรียน

5.
ระบบจัดการข้อมูล (Data Management System) ประกอบด้วยระบบจัดการไฟล์และโฟลเดอร์
ผู้สอนมีเนื้อที่เก็บข้อมูลบทเรียนเป็นของตนเอง โดยได้เนื้อที่ตามที่ Admin
กำหนดให้
วันศุกร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2556
E - Learning
E
- Learning..
ความหมายของ E
- Learning
E-Learning เป็นรูปแบบการเรียนที่เกิดขึ้นเพื่อตอบสนองการเรียนในลักษณะทางไกล
คือเป็นรูปแบบการเรียนซึ่งผู้เรียนไม่จำเป็นต้องเดินทางมาเรียนในสถานที่เดียวกันในเวลาเดียวกัน
ลักษณะของ E
- Learning

2.
Multimedia สื่อที่นำเสนอในเว็บ ประกอบด้วยข้อความ ภาพนิ่ง
ภาพเคลื่อนไหว และเสียง ตลอดจนวีดิทัศน์
3.
Non-Linear ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนเนื้อหาที่นำเสนอได้ตามความต้องการ
4. Interactive ผู้เรียนกับวิทยากรสามารถติดต่อกันได้อย่างรวดเร็ว
การใช้งานของ E
– Learning
การประยุกต์ใช้กับการศึกษา
- การเรียนการสอนโดยใช้เว็บเป็นหลัก
-
อิเล็กทรอนิกส์บุ๊ค (E-Book )
- วิดีโอเทคเลคอนเฟอเรนซ์ (Video Teleconference)
-
ระบบวิดีโอออนดีมานด์ (Video on Demand)
-
การสืบค้นข้อมูล (Search Engine)
-
อินเทอร์เน็ต (INTERNET)
ข้อดีของ E
- Learning
1.
เอื้ออำนวยให้กับการติดต่อสื่อสารที่รวดเร็ว ไม่จำกัดเวลาและสถานที่
รวมทั้งบุคคล
2.
ผู้เรียนและผู้สอนไม่ต้องการเรียนและสอนในเวลาเดียวกัน
3.
ผู้เรียนและผู้สอนไม่ต้องมาพบกันในห้องเรียน
4.
ช่วยให้การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
เพราะการถ่ายทอดเนื้อหาผ่านมัลติมีเดียที่ได้รับการออกแบบและผลิตอย่างมีระบบจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าการเรียนจากสื่อข้อความเพียงอย่างเดียว
ข้อจำกัดของ E
– Learning
1.
ไม่สามารถรับรู้ความรู้สึก ปฏิกิริยาที่แท้จริงของผู้เรียนและผู้สอน
2.
ไม่สามารถสื่อความรู้สึก อารมณ์ในการเรียนรู้ได้อย่างแท้จริง
3. ผู้เรียน และผู้สอน
จะต้องมีความพร้อมในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต ทั้งด้านอุปกรณ์
ทักษะการใช้งาน
U - Learning, M – Learning
คือการจัดการเรียนการสอนหรือบทเรียนสำเร็จรูป (Instruction
Package) ..... ที่นำเสนอเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนการสอนผ่านเทคโนโลยีเครือข่ายทั้งแบบใช้สายและไร้สาย
รวมไปถึงพวกอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการประมวลผลแบบไร้ขอบเขต
ผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกที่และทุกเวลาแท้ที่จริงแล้ว มาจากคำว่า Ubiquitous
e-learning แต่ e - ได้ถูกตัดหายไป
เนื่องจากเป็นการเรียนรู้ที่เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิต
ซึ่งเกี่ยวพันธ์กับวิธีการเรียนหลากหลายแบบรวมกัน
ทั้งแบบดังเดิมและการใช้เทคโนโลยีด้านสารสนเทศด้วย
ลักษณะที่สำคัญ
และการนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน
ตั้งแต่การคิดค้นอินเตอร์เน็ตและเว็บไซต์
กระบวนการเรียน (Education Process) พัฒนาการในวงการการศึกษาได้พัฒนาควบคู่ไปกับวิวัฒนาการทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
ซึ่งส่งผลให้เกิดการเรียนรู้แบบไร้ขอบเขต (Ubiquitous Learning) ในลักษณะทุกที่ ทุกเวลา การเรียนเกิดขึ้นรอบตัวผู้เรียน
เพราะข้อมูลสารสนเทศได้รวมไว้ในอุปกรณ์ต่างๆ ขอเพียงผู้เรียนพร้อมที่จะเรียน โดยเรียกความสัมพันธ์ของมนุษย์กับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ว่า เป็นแบบ Many
to one relationship ซึ่งเป็นความสัมพันธ์แบบสามัญและเกี่ยวพันธ์กับ UbiquitousComputing
***เสริม [Ubiquitous Computing]
คือการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการดำรงชีวิต รูป ลักษณะของคอมพิวเตอร์จะแฝงอยู่ในรูปของเครื่องใช้ต่าง ๆ เช่น เครื่องแต่งกาย เครื่องมือสื่อสาร ยานพาหนะเครื่องอำนวยความสะดวกในบ้าน และฝังตัวอยู่ในสรรพสิ่งรอบตัวเรา สารสนเทศที่ได้จากการประมวลผล สามารถเชื่อมโยงซึ่งกันและกันระหว่างอุปกรณ์ผ่านระบบเครือข่ายความเร็วสูง
คือการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการดำรงชีวิต รูป ลักษณะของคอมพิวเตอร์จะแฝงอยู่ในรูปของเครื่องใช้ต่าง ๆ เช่น เครื่องแต่งกาย เครื่องมือสื่อสาร ยานพาหนะเครื่องอำนวยความสะดวกในบ้าน และฝังตัวอยู่ในสรรพสิ่งรอบตัวเรา สารสนเทศที่ได้จากการประมวลผล สามารถเชื่อมโยงซึ่งกันและกันระหว่างอุปกรณ์ผ่านระบบเครือข่ายความเร็วสูง
ข้อดี และข้อจำกัดของ U
- Learning
เป็นการเรียนรู้ที่ปรับวิธีการให้ตรงกับรูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียน
(Adaptive learning) คือการสอนที่ปรับให้เข้ากับผู้เรียนทำให้เกิดการเรียนรู้ได้รวดเร็ว
ประสิทธิภาพสูงและเข้าใจได้มากกว่า เช่น การติดตามกิจกรรมการเรียนของผู้เรียน
การแปรผล และใช้ข้อมูลใหม่ ๆ เสริมกระบวนการเรียน
Ubiquitous Learning Environment (ULE) เป็นสถานการณ์การเรียนรู้แบบ pervasive (omnipresent
education or learning) การเรียนเกิดขึ้นรอบตัวนักเรียนโดยนักเรียนอาจไม่รู้ตัว
ข้อมูลได้รวมไว้ในอุปกรณ์ต่างๆ ขอเพียงนักเรียนพร้อมที่จะเรียน ที่จริงแล้ว
น่าจะมาจากคำว่า Ubiquitous e-learning แต่ e- ได้ถูกตัดหายไป
เนื่องจากเป็นการเรียนรู้ที่เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิต ซึ่งเกี่ยวพันธ์กับวิธีการเรียนหลากหลายแบบรวมกัน
ทั้งแบบดังเดิมและการใช้เทคโนโลยีด้านสารสนเทศด้วย
M – Learning
คือ
การเรียนรู้โดยใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์แบบพกพาที่เชื่อมต่อกับข้อมูลแบบไร้สาย ซึ่งคอมพิวเตอร์แบบพกพานี้ในปัจจุบันมีอยู่มากมาย
และมีหลายบริษัทที่ผลิตอุปกรณ์ออกมาใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง
ซึ่งสามารถจัดเป็นประเภทของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์แบบพกพาได้ 3 กลุ่มใหญ่
หรือจะเรียกว่า 3Ps

2.
Smart Phones คือโทรศัพท์มือถือ ที่บรรจุเอาหน้าที่ของ PDA
เข้าไปด้วยเพียงแต่ไม่มี Stylus แต่สามารถลงโปรแกรมเพิ่มเติมเหมือนกับ
PDA และ PDA phone ได้
ข้อดีของอุปกรณ์กลุ่มนี้คือมีขนาดเล็กพกพาสะดวกประหยัดไฟ และราคาไม่แพงมากนัก
3. iPod, เครื่องเล่น MP3 จากค่ายอื่นๆ และเครื่องที่มีลักษณะการทำงานที่คล้ายกัน คือ
เครื่องเสียงแบบพกพก iPod คือชื่อรุ่นของสินค้าหมวดหนึ่งของบริษัท
Apple Computer, Inc ผู้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์แมคอินทอช iPod
และเครื่องเล่น MP3 นับเป็นเครื่องเสียงแบบพกพาที่สามารถรับข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ด้วย
กระบวนการเรียนรู้ของ M
– Learning
ขั้นที่ 1
ผู้เรียนมีความพร้อม และเครื่องมือ
ขั้นที่ 2
เชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่าย และพบเนื้อหาการเรียนที่ต้องการ
ขั้นที่ 3
หากพบเนื้อหาจะไปยังขั้นที่ 4 แต่ถ้าไม่พบจะกลับเข้าสู่ขั้นที่
2
ขั้นที่ 4
ดำเนินการเรียนรู้ ซึ่งไม่จำเป็นที่จะต้องอยู่ในเครือข่าย
จากคำอธิบายดังกล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่า
M
– Learning นั้นเกิดขึ้นได้โดยไร้ข้อจำกัด
ด้านเวลา และสถานที่ ที่สำคัญขอเพียงแต่ผู้เรียนมีความพร้อมและเครื่องมือ
อีกทั้งเครือข่ายมีเนื้อหาที่ต้องการ จึงจะเกิดการเรียนรู้ขึ้น
แล้วจะได้ผลการเรียนรู้ที่ปรารถนา หากขาดเนื้อหาในการเรียนรู้ กระบวนการดังกล่าวจะกลายเป็นเพียงการสื่อสาร
กับเครือข่ายไร้สายนั่นเอง จึงอาจจะเป็นพันธกิจใหม่ของนักการศึกษา นักวิชาการ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เกี่ยวข้องในด้านการผลิตบทเรียนสำหรับ
M
– Learning ที่ควรจะเร่งดำเนินการออกแบบ
พัฒนา ผลิต และกระจายสื่อที่มีประสิทธิภาพสำหรับการเรียนด้วย M – Learning
ข้อดีของ M
– Learning
1.
มีความเป็นส่วนตัว และอิสระที่จะเลือกเรียนรู้ และรับรู้
2.
ไม่มีข้อจำกัดด้านเวลา สถานที่ เพิ่มความเป็นไปได้ในการเรียนรู้
3.
ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ได้จริง
4.
สามารถรับข้อมูลที่ไม่มีการระบุชื่อได้
ซึ่งทำให้ผู้เรียนที่ไม่มั่นใจกล้าแสดงออกมากขึ้น
5.
สะดวกสบายและมีประสิทธิภาพทั้งในสภาพแวดล้อมทางการเรียนและการทำงาน
6.
เครื่องประเภทพกพาต่างๆ
ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นทางการเรียนและมีความรับผิดชอบต่อการเรียนด้วยตนเอง
ข้อด้อยของ M
– Learning
1.
การเชื่อมต่อกับเครือข่าย ยังมีราคาที่ค่อนข้างแพง
และคุณภาพอาจจะยังไม่น่าพอใจนัก
2.
ซอฟต์แวร์ที่มีอยู่ในท้องตลาดทั่วไป
ไม่สามารถใช้ได้กับเครื่องโทรศัพท์แบบพกพาได้
3.
ราคาเครื่องใหม่รุ่นที่ดี ยังแพงอยู่ อีกทั้งอาจจะถูกขโมยได้ง่าย
4.
ความแข็งแรงของเครื่องยังเทียบไม่ได้กับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ
5.
การพัฒนาด้านเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง
ส่งผลให้ขาดมาตรฐานของการผลิตสื่อเพื่อเอ็มเลิร์นนิ่ง
6.
เมื่อมีผู้ใช้เครือข่ายไร้สายมากขึ้น ทำให้การรับส่งสัญญาณช้าลง
7.
ยังไม่มีมาตรฐานความปลอดภัยของข้อมูล
*** M – Learning กำลังก้าวเข้ามาเป็นการเรียนรู้คู่กับสังคมอย่างแท้จริง
เนื่องจากความเป็นอิสระของเครือข่ายไร้สาย ที่สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ ทุกเวลา
อีกทั้งจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาที่ใช้เป็นเครื่องมือนั้นมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
อย่างไรก็ดีสิ่งที่สำคัญยิ่งของ M – Learning นั้นอยู่ที่การเรียนรู้
และการมุ่งพัฒนาเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพได้อย่างแท้จริง ***
วันพฤหัสบดีที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
สรุปผลการศึกษาดูงาน
ผลการศึกษาดูงาน
ณ โรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ จังหวัดกาญจนบุรี
เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2556
ผู้จัดทำ
ผู้จัดทำ
1. นายฉัตรชัย
นุชสำอางค์ รหัส 534116207
2. นายชัชชัย
รัตนกรีฑากุล รหัส 534116208
3. นายทินกร
กู้ฉินชัย รหัส 534116213
4. นายธำรงค์
ทองขาว รหัส 534116214
5. นายพรรณพ
ใบเนียม รหัส 534116252
6. นางสาวไอลดา เหลืองทอง รหัส 534116251
6. นางสาวไอลดา เหลืองทอง รหัส 534116251
หมู่เรียน 53/25
รายวิชาการเรียนและการสอนด้วยคอมพิวเตอร์ (4143503)
โปรแกรมวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมการใช้คอมพิวเตอร์ในฐานะผู้สอน
การใช้คอมพิวเตอร์ในฐานะผู้สอน
คือ การนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้ในลักษณะเป็นผู้สอนโดยมีแนวคิดมาจากการสอนแบบ โปรแกรม (Programmed Instruction) แต่จะมีความยืดหยุ่นในการใช้งานมากกว่าเพราะสามารถใช้ในการโต้ตอบกับผู้ เรียนได้ โดยบทเรียนจะถูกสร้างขึ้นด้วยความร่วมมือทั้งผู้ชำนาญในการเขียนโปรแกรมและ ผู้ชำนาญการสอนในแต่ละสาขาวิชา เพื่อให้การใช้คอมพิวเตอร์ในการนำเสนอบทเรียนที่ดี มีคุณภาพ และถูกต้องตรงตามเนื้อหาหลักสูตร
คือ การนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้ในลักษณะเป็นผู้สอนโดยมีแนวคิดมาจากการสอนแบบ โปรแกรม (Programmed Instruction) แต่จะมีความยืดหยุ่นในการใช้งานมากกว่าเพราะสามารถใช้ในการโต้ตอบกับผู้ เรียนได้ โดยบทเรียนจะถูกสร้างขึ้นด้วยความร่วมมือทั้งผู้ชำนาญในการเขียนโปรแกรมและ ผู้ชำนาญการสอนในแต่ละสาขาวิชา เพื่อให้การใช้คอมพิวเตอร์ในการนำเสนอบทเรียนที่ดี มีคุณภาพ และถูกต้องตรงตามเนื้อหาหลักสูตร
จากที่ไปศึกษาดูงานที่โรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ พบว่า แต่ละห้องเรียนจะมีการจัดรูปแบบห้องให้น่าสนใจและดึงดูดความสนใจของนักเรียนดังตัวอย่างในรูป
เป็นห้องเรียนภาษาญี่ปุ่น
ทางโรงเรียนก็จะจัดรูปแบบคล้ายๆกับห้องเรียนของประเทศญี่ปุ่นเลยก็ว่าได้
ซึ่งแต่ละห้องของกลุ่มสาระการเรียนภาษาต่างประเทศมีการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ 2 ชุด
และเครื่องฉายโปรเจคเตอร์ 2 ตัว ในการถ่ายจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
อีกทั้งยังมีเทคโนโลยีที่มีความทันสมัยเป็นอย่างมากๆ เช่น
ตัวเซ็นเซอร์ที่ค่อยบันทึกภาพเคลื่อนไหวขั้นตอนวิธีการสอนของครูผู้สอน และ
เนื้อหาวิชาที่ได้สอนในแต่ละรายชั่วโมง โดยจะถูกจัดเก็บไว้
ในเว็บไซต์ของทางโรงเรียน ซึ่งนักเรียนสามารถศึกษาค้นคว้า หรือดูย้อนหลังได้ด้วยตนเองอีกด้วย
การใช้คอมพิวเตอร์ในฐานะผู้ช่วย
การใช้คอมพิวเตอร์ในฐานะผู้ช่วย
คือ
การนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้ลักษณะของผู้ช่วย
จากที่ไปศึกษาดูงานที่โรงเรียนกาญจนานาเคราะห์ พบว่า
ทางโรงเรียนใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือ หรือเป็นตัวกลางในการนำเสนอ
และเก็บข้อมูลได้หลายรูปแบบ เช่น เก็บผลการเรียนของนักเรียน
หรือกระทั้งเป็นสื่อในการค้นคว้า หาความรู้ที่มีอยู่ในห้องสมุด ที่มีไว้ในนักเรียน
หรือผู้ที่ต้องการจะค้นหาข้อมูลได้มาค้นคว้าหาความรู้ได้
และยังเป็นเครื่องอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ ให้สามารถทำสิ่งต่าง ๆ ได้
เช่นการสร้างสื่อในรูปแบบของ CAI พิมพ์งาน
หรือเอกสาร หรือกระทั้งใช้เป็นตัวควบคุมในระบบต่าง ๆ ของโรงเรียน
และในโรงเรียนยังมี เซอร์เวอร์เป็นของตัวเอง
ทำให้ผู้เรียนสามารถที่จะสร้างโปรไฟล์ข้อมูลเป็นของตัวเอง และแชร์
ข้อมูลไปถึงบุคคลอย่าง หรือใช้เป็นตัวกลางในการติดต่อสื่อสาร
หรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และในโรงเรียนยังมีบริการ (KN Service
Center) ในการพิมพ์งาน หรือพิมพ์เอกสารต่าง ๆ โดยเสียค่าบริการ
ห้องสมุด
นอกจากนี้คอมพิวเตอร์ยังช่วยในการการวางแผน เช่น
แผนการจัดการเรียนรู้ แผนงานโครงการ (แผนปฏิบัติงานประจำปี) วางแผนการจัดกิจกรรม
ใช้พิมพ์งานเอกสารต่าง ๆ สร้างงานนำเสนอ สร้างรูป สร้างภาพ
สร้างสื่อการเรียนรู้ต่าง ๆ เก็บข้อมูล ค้นหาข้อมูลต่าง ๆ คำนวณคะแนน
ตัดเกรดผลการเรียนรู้ ฯลฯ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)